welcome วิชาประวัติศาสตร์(22102) คุณครูชาญวิทย์ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

10.สัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง


ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา from SAIPIN
            สุโขทัย ล้านนา (เชียงใหม่) มอญ พม่า ล้านช้าง (ลาว) เขมร และมลายูความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งถูกรวมเป็นอันเดียวกับอยุธยาตั้งแต่ ปี 2006 เป็นต้นมาโดยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองก่อตั้งอยุธยาก็ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่สุโขทัย  โดยเข้ายึดเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นของสุโขทัยไว้ พระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งสุโขทัยได้ส่งเครื่องบรรณาการมาทูลขอคืนจึงคืนให้และเท่ากับว่า สุโขทัยได้ยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยาตั้งแต่นั้นมาก และสมัยพระอินทราชาได้ทูลขอธิดา พระมหาธรรมราชาที่ 2 ให้สมรสกับเจ้าสามพระยา (พระโอรส)   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็น การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสองอาณาจักรด้วยความสัมพันธ์กับสุโขทัยสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ไปประทับที่พิษณุโลก สุโขทัยก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาโดยสิ้นเชิง

ความสัมพันธ์กับล้านนา (เชียงใหม่)

           หลังจากที่ได้สุโขทัยไว้ในครอบครองแล้ว อยุธยาก็รุกต่อขึ้นเหนือหวังยึดครองล้านนา แต่ยกไปตีหลาย ครั้งไม่สำเร็จ ระยะหลังเกิดสงครามเพราะสุโขทัยไปยอมอ่อนน้อมต่อล้านนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ของ ล้านนา เพื่อหวังให้ล้านนาช่วยรบกับอยุธยา แต่ในที่สุดสมัยพระไชยราชาธิราชล้านนาก็ตกเป็นของอยุธยา

ความสัมพันธ์กับมอญ

           อาณาจักรมอญส่วนใหญ่จะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่ากับอยุธยา ส่วนใหญ่พม่าจะยึดครองมากกว่าไทยเหตุผลของความสัมพันธ์ กับมอญเพราะอยุธยาต้องการครอบครองหัวเมืองชายฝั่งที่เป็นเมืองท่าเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เมือง ทวาย มะริด และตะนาวศรี เป็นต้นมอญเคยตกเป็นของไทยสมัยพระนเรศวร เท่านั้น นอกนั้น ตกเป็นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา

ความสัมพันธ์กับพม่า

           ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าสมัยอยุธยาเป็นไปในรูปของสงครามโดยตลอดเพื่อแย่งชิงการปกครองเมือง ประเทศราช ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นไปเพื่อแย่งชิงเมืองท่าในเขต อ่าวเบงกอล ของมอญด้วยสาเหตุที่พม่ามีแผ่นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องขยายอาณาเขตออกมาทางมอญ และล้านนา ซึ่งมีพรมแดน ติดอยุธยา ดังนั้นมอญจึงเป็นรัฐกันชน เมื่อพม่าได้มอญกับล้านนาแล้วก็มักแผ่อำนาจมายังอยุธยาเสมอ

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) ล้านช้าง

          เป็นมิตรที่แสนดีกับไทยสมัยอยุธยามาตลอดแม้เวลาเราติดศึกพม่าก็ส่งทัพมาช่วยรบมีความสัมพันธ์ ทางเครือญาติเช่นสมัยพระเจ้าอู่ทองได้พระราชทานพระแก้วฟ้า แก่พระเจ้าสามแสนไทย สมัยสมเด็จ พระจักรพรรดิก็ได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ความร่วมมือที่ดีต่อกัน คือพระธาตุศรีสองรักที่จังหวัดเลย และ พระราชทานธิดาพระนางเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาแต่ถูกพม่าชิงตัวไปก่อน

ความสัมพันธ์กับเขมร

         เป็นไปในลักษณะการรับวัฒนธรรมประเพณี เช่นการปกครองรูปแบบสมมุติเทพ และวัฒนธรรมประเพณี ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย บางครั้งเขมรก็แยกเป็นอิสระหรือไปหันไปพึ่งญวณและมักมาโจมตี ไทยเวลาอยุธยามีศึกกับพม่าสมัยเจ้าสามพระยาของอยุธยาทรงยกทัพไปยึดพระนครของเขมร เขมรต้องย้าย เมืองหลวงไปอยู่ป่าสานและพนมเปญปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของเขมรกับไทยมีทั้งด้านการเมืองและศิลปวัฒนธรรมในด้านการเมือง

 ความสัมพันธ์กับมลายู

           จะเป็นไปในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพราะช่องแคบมะละกาเป็นทางผ่านที่จะไปสู่อินเดียและจีน อยุธยาจึงต้องการครอบครอง จึงขยายอำนาจทางทหารไปครอบครอง โดยปรากฏหลักฐานว่าอยุธยายกทัพ ไปโจมตีหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาได้ ส่วนหัวเมืองมลายูอื่นๆ ยังเป็นของอยุธยา จนถึงปี พ.ศ.2310 อยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2

 สรุป

           ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการขยายเขตแดนและเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

           ดังนั้นจึงไม่พ้นการทำสงคราม โดยเฉพาะกับพม่าซึ่งเรามักเป็น ฝ่ายตั้งรับมากกว่าการยกทัพไปรุกราน อยุธยาต้องเสียกรุงแก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2112 สมัยพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์

9.ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา
ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

             อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ คือตั้งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำ 3 สาย  มาบรรจบกัน มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้อยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ
ถนนรอบเกาะยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเพาะปลูกข้าวและยังอยู่ใกล้ทะเลพอสมควร ทำให้สามารถทำการค้าต่างประเทศได้โดยสะดวก

8.การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา
การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

อยุธยาซึ่งดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และได้ถึงวาระสิ้นสุด
อันเนื่องมาจากพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 อันมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่
คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง
การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุน
วังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์
2. ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112
ในสมัยอยุธยาตอนปลายกษัตริย์พม่าราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบองได้เข้ามารุกราดินแดนไทย
อันเป็นสงครามต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2303 เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี
ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ
พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา จึงยกทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากเข้ายึดทวาย  มะริด
และตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพเข้ามาตีเมืองตามรายทางที่กองทัพผ่าน คือ เชียงใหม่  ลำพูน  และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรอยุธยา
เมื่อ พ.ศ. 2309 พม่าก็ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนาง
ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310

6.พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

            กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นาน 417 ปี มีพระมหกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 34 พระองค์นับรัชกาลได้  35  รัชกาล  ดังนี้

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)

สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ ทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ ปีขาล โทศก ณ วันศุกร์ เดือนห้า เพลาสามนาฬิกา ห้าบาท ได้รับถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๑๒

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ณ ชัยภูมิที่เอื้ออำนวยทั้งในด้านความมั่นคงปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของชาวอยุธยา คือตั้งอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมที่มีแม่น้ำล้อมรอบ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเกาะ สะดวกในการป้องกันตัวเมืองจากผู้เข้ามารุกราน และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคม อันเนื่องจากมีแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ไหลมาบรรจบกัน ควบคุมเส้นทางคมนาคมทางน้ำของบรรดาบ้านเมืองที่ อยู่เหนือขึ้นไปที่จะออกสู่ทะเล

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงนำลักษณะการปกครองทั้งของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งของกรุงสุโขทัย และของขอม มาประยุกต์ใช้กับกรุงศรีอยุธยา ได้จัดการปกครองบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรส ไปครองเมืองลพบุรี และขุนหลวงพะงั่ว ผู้เป็นพี่พระมเหสี ไปครองเมืองสุพรรณบุรี

ในด้านการแผ่ขยายพระราชอาณาเขต ในปี พ.ศ.๑๘๙๕ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ได้สำเร็จนับเป็นการทำสงครามครั้งแรกของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๗ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปยึดเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผลให้พระเจ้าลิไทได้ส่งราชทูตมาขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา และขอเมืองชัยนาทคืน นอกจากขอมและสุโขทัยแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการเมือง โดยได้ทรงแต่งราชทูต ไปเจริญทางพระราชไมตรี และการค้ากับจีน อินเดีย เปอร์เซีย ลังกา ชวา มลายูและญวน

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองครองราชย์ได้ ๑๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา

สมเด็จพระราเมศวร

สมเด็จพระราเมศวร ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงครองราชย์สองครั้งคือ ครั้งแรกต่อจากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง

ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๑๒ - ๑๙๒๓ และครั้งที่สอง ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๓๘

           ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราเมศวรได้รับโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ให้ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง

และเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อทางกัมพูชาไม่เป็นไมตรีกับทางกรุงศรีอยุธยาที่เรียกว่า ขอมแปรพักตร์

ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว จนตีนครธมได้สำเร็จ

           ในปี พ.ศ.๑๙๑๓ ขุนหลวงพะงั่วได้ยกกำลังจากเมืองสุพรรณบุรี มายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรทรงเชิญเสด็จเข้าพระนครแล้ว

ถวายราชสมบัติให้ ส่วนพระองค์เองขึ้นไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

           เมื่อขุนหลวงพะงั่วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระเจ้าทองลันผู้เป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์ได้เจ็ดวัน สมเด็จพระราเมศวรก็ยกกำลัง

จากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลันสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์ต่อมา

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำสงครามแผ่ขยายราชอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาออกไปยังอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรขอมกล่าวคือ

 ในปี พ.ศ.๑๙๓๓ ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในชั้นแรกเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอสงบศึก และจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

แต่สุดท้ายไม่ได้ทำตามสัญญา พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ จับนักสร้าง โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้

ให้ไปอยู่ที่เมืองจันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

           หลังจากตีเชียงใหม่แล้วก็ได้ยกกำลังไปทำสงครามกับอาณาจักรขอม เนื่องจากทางขอมได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบุรี

และเมืองชลบุรี ไปประมาณ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ คน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตีเมืองขอมได้แล้วจึงได้นำชาวเมืองจันทบุรี

และเมืองชลบุรีกลับคืนมา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์ปกครองเมืองขอม พร้อมกับกำลังพล ๕,๐๐๐ คน  ต่อมาเมื่อญวนยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ ครองราชย์ได้ ๘ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว ทรงเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เดิมครองเมืองสุพรรณบุรี

พระองค์ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ตั้งแต่ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองเหนือหลายครั้ง โดยได้ไปตีเมืองชากังราวสามครั้ง เนื่องจากเป็นเมืองที่กรุงสุโขทัยใช้เป็นเมืองหน้าด่าน จากการรุกเข้าโจมตีของกรุงศรีอยุธยา

           ขุนหลวงพะงั่วได้ส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิจีนหลายครั้ง มีการแลกเปลี่ยนเครื่องราชบรรณาการซึ่งกัน และกันทางไทยได้ส่งช้าง เต่าหกขา หมีดำ ลิงเผือกและของพื้นเมืองอื่น ๆ ไปถวาย ทางจีนได้ส่งผ้าแพรดอกขาว ผ้าแพรสี ผ้าไหมสีเงินทอง และปฏิทินหลวงมาถวาย

           ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่เพียงแต่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปปถัมภกเช่นเดียวกันกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน และแม้ว่าจะอยู่ในช่วงต้น ๆ ของการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และต้องทำศึกสงครามเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของพระราชอาณาจักร พระองค์ยังได้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ คือ พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งมีความสูงถึง ๑๙ วา ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๑๘ ปี

สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์)

           สมเด็จพระเจ้าทองลัน ทรงเป็นพระราชโอรสในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๗ เมื่อขุนหลวงพะงั่ว เสด็จสวรรคตขณะที่ทรงยกทัพไปตีเมืองชากังราวครั้งที่สี่ บรรดาข้าราชการจึงได้อัญเชิญพระองค์ซึ่งทรงเป็นรัชทายาทขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ขณะที่มี พระชนมายุได้ ๑๕ พรรษาพระเจ้าทองลันครองราชย์อยู่ได้เจ็ดวัน ก็เสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน

สมเด็จพระรามราชาธิราช

          สมเด็จพระรามราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๙ ที่เมืองลพบุรี ทรงพระนามว่า เจ้าพระยารามเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ห้าของกรุงศรีอยุธยา

           ในห้วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองเป็นปกติสุขดี พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๐และก็ได้ส่งทูตแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีอยู่เสมอในระยะต่อ ๆ มา

           สมเด็จพระรามราชาธิราช พยายามที่จะขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา แต่ไม่เป็นผล ทางอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจ และยังไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร พระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทางพระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่า
เป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง  ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี และเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจามแล้วได้รวมกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึดวังหลวง แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระองค์ทรงครองราชย์กรุงศรีอยุธยาได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ

สมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนครอินทร์)

           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ ทรงครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒  เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่หกของกรุงศรีอยุธยา

           ในปี พ.ศ.๑๙๖๒ พระยาบาลเมืองและพระยารามได้สู้รบชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัย  พระองค์ได้ทรงเข้าไปไกล่เกลี่ย แล้วทรงอภิเศกพระยาบาลเมืองให้ครองกรุงสุโขทัย และพระยารามราชครองเมืองศรีสัชนาลัย หลังจากนั้นได้ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาใหม่ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองนครสวรรค์  และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ
           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ เคยเสด็จไปเมืองจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีน สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)

           เจ้าสามพระยาเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระนครินทร์ ฯ   จากการแย่งราชสมบัติของเจ้าอ้ายพระยา กับเจ้ายี่พระยา จนสิ้นพระชนม์ไปทั้งสององค์ เจ้าสามพระยาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เจ็ดแห่งกรุงศรีอยุธยา

           พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีเมืองเหนือ และเมืองกัมพูชา กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) ของกัมพูชาอยู่ถึงเจ็ดเดือนจึงสามารถยึดได้ นับเป็นการขยายพระราชอาณาาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม

           ในปี พ.ศ.๑๙๘๕ พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๙๘๘ ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

           ในรัชสมัยของพระองค์นอกจากทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตแล้ว ยังได้ปรับปรุงด้านการปกครอง โดยได้ทรงตรากฎหมายลักษณะอาญาศึกอยู่ในลักษณะกบฎศึก) ขึ้นในกรุงศรีอยุธยา

           ในด้านการพระศาสนา ได้ทรงสร้างวัดราชบูรณะ ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บยริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา
           เจ้าสามพระยาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ ครองราชญ์ได้ ๒๔ ปี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชยสภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒  เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้เจ็ดพรรษา พระราชบิดาได้พระราชทานพระนามตามพระราชประเพณีว่า สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตรและเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แปดของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๔ พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือกซี่งนับเป็นช้างเผือกช้างแรกของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ได้แก่ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน

           การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้

หัวเมืองชั้นใน  เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์

หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร  เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่งเมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี

เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม

           สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า  แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้าการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

           มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยามีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

           ในปี พ.ศ.๒๐๐๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ

 พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก

           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงนับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษาและวรรณคดีของไทยนอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ ครองราชย์ได้ ๔๐ ปี พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ๑๕ ปีและประทับที่เมืองพิษณุโลก ๔๐ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระอินทราชา)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระอินทราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เก้าของกรุงศรีอยุธยา
           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในช่วงที่ทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลา ๒๕ ปี จนเสด็จสวรรคต ในห้วงเวลาดังกล่าว สมเด็จพระบรมราชาจึงได้ครองกรุงศรีอยุธยา ที่เสมือนมีฐานะเมืองลูกหลวง ได้มีส่วนรับพระราชภาระจากพระราชบิดาให้เป็นไปด้วยดี

           ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย คืนมาจากกรุงหงสาวดี และได้กวาดต้อนผู้คนมา เป็นจำนวนมาก
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ ครองราชย์ได้ ๓ ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อภิเษกเป็นพระมหาอุปราชเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา เมื่อสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ถวายราชสมบัติแก่พระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา และครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก พระองค์จึงอยู่ในฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สิบของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล

 เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๑ เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ - ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร

ชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหารเรียกว่า ไพร่สม  เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกอง

ประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย

           ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา

    รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้

           ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดี ได้ทรงออกทัพขึ้นไปช่วยโจมตี

จนกองทัพเชียงใหม่  แตกกลับไป

           ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองลำปางได้ เมื่อเสร็จยกทัพกลับอยุธยา พระองค์ได้ทรง

สถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ พระราชโอรสให้เป็นพระบรมราชาตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธางกูร หรือสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้ารัชทายาท

โปรดเกล้า ฯ ให้ปกครองหัวเมืองเหนือ ประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ทำให้ราชอาณาจักรล้านนาไม่มารบกวนเมืองเหนือ

อีกตลอดรัชสมัยของพระองค์

           นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๓ ยังได้ส่งกองทัพทั้งทางบก และทางเรือ ไปทำสงครามกับมะละกา ถึงสองครั้ง

เข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและ ตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพล

เหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ

ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกา ผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมด ต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์

สยามทุกปี

           ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ ทูตนำสารของ อัลฟองโซ เดอร์ก แม่ทัพใหญ่ของโปรตุเกสได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

และการค้าพระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าต่อกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๙ นับเป็นสัญญา

ฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ

           ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ

และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตก

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๒ ครองราชย์ได้ ๓๘ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรืออีกพระนามหนึ่งว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่

 ๒ พระนามเดิมว่า พระอาทิตยวงศ์ และทรงเป็นรัชทายาท ภายหลังได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร

ครองเมืองพิษณุโลก พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๑๑ ของกรุงศรีอยุธยา

มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราชธิราช

           พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พระไชยราชา ผู้เป็นพระอนุชาต่อพระมารดา ไปครองเมืองพิษณุโลก

พระองค์ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเมืองเกศเกล้าพระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อยุติความบาดหมางในกาลก่อน ทำให้ทางพระเจ้าเชียงใหม่

ไม่ได้มีปัญหากับกรุงศรีอยุธยาตลอดรัชสมัยของพระองค์

           พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการปกครองและการรบ และการปกครอง การติดต่อกับโปรตุเกส ทำให้กรุงศรีอยุธยา

ได้รับประโยชน์จากการค้าขายกับโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหาร เช่น การทำปืนไฟ  การสร้างป้อมปราการที่สามารถ

ป้องกันปืนไฟได้ ที่เมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้นให้ชาวโปรตุเกสตั้งเป็นกองอาสา เข้าร่วมรบกับข้าศึก

ด้วยชาวโปรตุเกส ก็ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้เข้ามาค้าขาย และเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิก รวมทั้งการ

เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยาอีกด้วย

           ในด้านการทหาร พระองค์ทรงทำศึกกับล้านช้าง (อาณาจักรหลวงพระบาง) และพะโค (หงสาวดี) หลายครั้ง ในปลายรัชสมัยของพระองค์

ได้ทรงยกกองทัพไปประชิดแดนพะโค และยึดเมืองบางเมืองได้แล้วยกกองทัพกลับ พระองค์ไปทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ

 และเสด็จสวรรคต

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ ครองราชย์ได้ ๔ ปี



พระรัษฎาธิราช

           พระรัษฎาธิราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ พระราชชนนี

ทรงมีเชื้อสายราชวงศ์เวียงไชยนารายณ์ เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตโดยที่มิได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาท บรรดามุข

อำมาตย์เสนาบดี จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระรัษฎาธิราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุเพียงห้าพรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖

ทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของกรุงศรีอยุธยา

           เนื่องจากพระรัษฎาธิราชยังทรงพระเยาว์มาก การบริหารราชการแผ่นดินจึงตกเป็นหน้าที่ของอัครมหาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่

สองคนคือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์

ได้ห้าเดือน บ้านเมืองเกิดระส่ำระสาย พระไชยราชา ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้ทรงยกกองทัพมายึดอำนาจ

การปกครอง เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช



สมเด็จพระไชยราชาธิราช

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองพิษณุโลก

เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๓ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราช โอรสสอง

พระองค์อันประสูติแต่ท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอก ทรงพระนามว่า พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป์

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกกองทัพมาตี

เมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้

 พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก

กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้

           เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดิน

ให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างวัดคริสตศาสนานิกาย

โรมันคาธอลิก ทำให้มีบาดหลวงเขามาเผยแพร่คริสตศาสนา ในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้น

           เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่เชียงใหม่ พระเมืองเกศเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ บรรดาท้าวพระยาเมืองลำปาง เมืองเชียงราย

และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางมหาเทวีจิรประภา พระธิดาพระเมืองเกศเกล้า

 ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกกองทัพไปถึงเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ พระนางมหาเทวีจิรประภาได้ออกมา

ถวายการต้อนรับ และขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในขณะนั้นพระนางมหาเทวี ฯ ทรงเกรงอานุภาพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งได้ขยาย

อาณาเขตมาจรดเขตของเชียงใหม่ จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายพม่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์

เป็นไปเช่นนี้ ในอนาคตพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ จะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงได้ยกทัพเข้าตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๘ โดยได้ตีนครลำปาง

 และนครลำพูน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพยกไปเชียงใหม่ พระนางมหาเทวี ฯ จึงเห็นสถานการณ์เช่นนั้นแล้ว

จึงทรงต้อนรับพญาพิษณุโลก และทรงยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

           เมื่อเสร็จศึกเชียงใหม่ ระหว่างทางที่เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ประชวร และเสด็ตสวรรคตระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐาน

บางฉบับขยายความว่า สมเด็จพระไชยราชาเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงประชวร และเสด็จสวรรคต เนื่องจากท้าวศรีสุดาจันทร์

พระสนมเอกซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ขณะที่พระองค์เสด็จไปราชการสงคราม คบคิดกับขุนวงวรศาธิราชวางยาพิษพระองค์

ทำให้พระองค์ประชวร จึงได้ทรงมอบราชสมบัติแก่พระยอดฟ้าพระราชโอรสแล้วสวรรคต

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำไปถึง กรุงศรีอยุธยามีความคดเคี้ยว

หลายแห่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินระหว่างคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอกน้อยแคบ

สามารถเดินถึงกันได้ ผลจากการขุดคลองลัดบางกอกทำให้สายน้ำเปลี่ยนทางเดินจนคลองลัดบางกอกกลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยา

จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ณ บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าราชวรดิษฐ์ในปัจจุบัน

           สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี



สมเด็จพระยอดฟ้า

           สมเด็จพระยอดฟ้าหรือพระแก้วฟ้า ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับพระสนมเอกท้าวศรีสุดาจันทร์

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๙ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๔ ของกรุงศรีอยุธยา

           เนื่องจากสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์อยู่มาก เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่จึงได้ทูลเชิญท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็นพระราชมารดาขึ้นเป็น

ผู้สำเร็จราชการ นับเป็นยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ พระองค์ครองราชย์ได้เพียงสองปี ก็ถูกขุนวรวงศาธิราช

ผู้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ชิงราชบัลลังก์ได้ แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑



ขุนวรวงศาธิราช

           ขุนวรวงศาธิราช ตำแหน่งเดิมคือ พันบุตรศรีเทพ เป็นผู้เฝ้าหอพระหน้าพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต

สมเด็จพระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ได้สองปี เนื่องจากพระองค์ทรงพระเยาว์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระราชมารดา จึงได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการ

เมื่อสมเด็จพระยอดฟ้าสวรรคต ท้าวศรีสุดาจันทร์ในฐานะผู้สำเร็จราชการจึงได้ดำเนินการจัดตั้งพระราชพิธีราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราช

เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยเหตุที่มีความสัมพันธ์กันพิเศษเป็นการส่วนตัว

           ขุนวรวงศาธิราชอยู่ในตำแหน่งได้ ๔๒ วัน ก็ถูกขุนพิเรนทรเทพและคณะ กำจัดออกไปพร้อมกับท้าวศรีสุดาจันทร์



สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงพระนามเดิมว่า พระเฑียรราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และทรงเป็น

พระอนุชาต่างพระชนนี ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

คู่กันกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระยอดฟ้า ต่อมาได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน

           เมื่อขุนพิเรนทรเทพและคณะ ได้กำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาผนวชและ

ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยา

พระองค์ได้สถาปนาพระมเหสีเป็นพระสุริโยทัย ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสี่พระองค์คือ พระราเมศวร พระมหินทร พระวิสุทธิกษัตรี

และพระเทพกษัตรี

           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ เป็นพระมหาธรรมราชา ครองเมืองพิษณุโลก แล้วพระราชทาน

พระวิสุทธิกษัตรี ให้เป็นพระมเหสี ขุนอินทรเทพ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช หลวงศรียศ

เป็นเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหม หมื่นราชเสน่หา เป็นเจ้าพระยามหาเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ เป็นพระยาภักดีนุชิต พระยาพิชัย

 เป็นเจ้าพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก

           ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน พระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้) ทรงทราบว่า

ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังราชอาณาจักรไทย จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางเมืองกาญจนบุรี

 ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง  ทัพพระมหาอุปราชา ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปร ตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ

 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช

 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร  ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก

เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทรา ฯ

 ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร

           ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำ

โจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน

และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบจึงยกทัพ

กลับทางด่านแม่ละเมา  กองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลัง

ไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพไทยถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรง

ขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือก

           ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๒ - ๒๑๐๖ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคง

แข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น โปรดให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น

 ทรงสร้างกำแพงกรุงศรีอยุธยาด้วยการก่ออิฐถือปูน ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัว

 ตามหัวเมืองในเขตชั้นในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้ โปรดให้สะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ พาหนะทั้งทางบก

และทางน้ำเพื่อใช้ในสงคราม โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ สามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า

พระเจ้าช้างเผือกอีกพระนามหนึ่ง

           พระเจ้าบุเรงนอง  ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเตะเบงชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือ

กสองเชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงให้เหตุผลเชิงปฎิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา

 เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร ๔๐๐ คน

เป็นทหารปืนใหญ่ ให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมือง

เหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา

           ฝ่ายไทยเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร

สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพไทยของพระราเมศวร แต่ฝ่ายไทย

ต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎร์

ได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดพระเมรุการาม

 กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือกสี่เชือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามให้แก่พม่า

           หลังสงครามช้างเผีอกสิ้นสุดลง สมเด็จพระมหินทรา ผู้ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทนพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจาก

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ที่เสด็จออกผนวช ต่อมาทรงเกรงว่าพระมหาธรรมราชาจะไปสนับสนุนพม่า พระองค์จึงทูลให้พระมหาจักรพรรดิ์

ให้ทรงลาผนวช แล้วกลับมาครองราชย์ตามเดิม ส่วนพระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเมืองพม่าแล้ว

รับยรองพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระราชนัดดามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับพม่าอย่างเปิดเผย

           ในปี พ.ศ. ๒๑๑๑ พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังหาแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน

 โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซี่งเป็นด้านที่อ่อนแอที่สุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อ

กับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ ฝ่ายไทยได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต

ทำให้ราษฎรเสียขวัญ และกำลังใจกองทัพของ

พระเจ้าไชยเชษฐาที่ยกมาช่วย ถูกพม่าซุ่มโจมตีถอยกลับไป พระเจ้าบุเรงนองได้ทำอุบายให้พระยาจักรีที่พม่าขอไปพม่าในสงครามครั้งก่อน

ลอบเข้ากรุงศรีอยุธยา เป็นไส้ศึกให้พม่า จนทำให้การป้องกันกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลงไปตามลำดับ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่เก้าเดือนก็

เสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑ ครองราชย์ได้ ๒๐ ปี



สมเด็จพระมหินทราธิราช

           สมเด็จพระมหินทราธิราช พระนามเดิม พระมหินทร์ หรือพระมหินท์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

กับสมเด็จพระสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๘๒ มีพระเชษฐาคือ พระราเมศวร ผู้เป็นที่พระมหาอุปราช มีพระเชษฐภคินี

สองพระองค์คือ พระบรมดิลก กับพระสวัสดิราช (พระวิสุทธิกษัตรี) และพระขนิษฐาคือ พระเทพกษัตรี

           หลังสงครามกับพม่าที่เรียกว่าสงครามช้างเผือก ยุติลงในปี พ.ศ.๒๑๐๗ พระมหินทร์ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชต่อจากพระราเมศวร

ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเสด็จออกผนวช

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๑๑ สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ได้ทูลขอให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวช แล้วขึ้นครองราชสมบัติอีกครั้งเพื่อ

เตรียมรับศึกพม่า โดยพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยกกองทัพเจ็ดกองทัพ มาทำสงครามกับไทย กองทัพพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา

แล้วเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ เพื่อตัดกำลังไม่ให้ส่งกองทัพเข้ามาช่วยกรุงศรีอยุธยา จากนั้นจึงได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้

           ในระหว่างการศึก สมเด็๋จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระมหินทร์ ฯ จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา

พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ได้ห้าเดือน ยังไม่สามารถตีหักเข้าไปได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงออกอุบายเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ ฯ

ยอมเป็นไมตรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอตัวพระยาราม ผู้มีความสามารถรับผิดชอบการรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง สมเด็จพระมหินทร์ ฯ

 ทรงยินยอมมอบตัวพระยารามแก่พม่า แต่ทางพระเจ้าบุเรงนองกลับตระบัดสัตย์ ไม่ทำตามข้อตกลง และเร่งยกกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยาหนักขึ้น

           ขณะนั้นใกล้ฤดูน้ำหลาก แต่พม่าก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาจักรีซึ่งทางพม่าขอตัวไปพร้อมกับ

พระราเมศวรในสงครามกับพม่าครั้งก่อน เข้าเป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเคยเป็นแม่ทัพ

ที่มีความสามารถในการศึกกับพม่าครั้งก่อน จึงทรงโปรดให้เป็นผู้จัดการป้องกันพระนคร ทัพพม่าจึงตีหักเข้าพระนครได้

เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๑๒ หลังจากล้อมพระนครไว้ถึงเก้าเดือน

           พม่าเข้ายึดทรัพย์สิน และกวาดต้อนผู้คนกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสมเด็จพระมหินทร์ ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่

 ก็ได้นำไปกรุงหงสาวดีด้วย

           สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทาง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระชนมายุได้สามสิบพรรษา ครองราชย์ได้ ๑ ปี



สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

           สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดา

เป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ

 พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชา

ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับ

โปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี

พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ

           พระสุพรรณเทวี หรือพระสุพรรณกัลยา ซึ่งต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าบุเรงนอง

เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๗ พรรษา เพื่อขอสมเด็จพระนเรศวรมาช่วยงานของพระองค์

           องค์ที่สองคือ พระองค์ดำ หรือสมเด็จพระนเรศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ พระเจ้าบุเรงนองได้ขอไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี

ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ได้ขอตัวมาช่วยงานของพระองค์ และทรงตั้งให้

เป็นพระมหาอุปราช ไปครองเมืองพิษณุโลก ดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวง

           องค์ที่สามคือ พระองค์ขาว หรือพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๐ ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ เกิดสงครามช้างเผือกกับพม่า

สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ป้องกันเมืองพิษณุโลกเป็นสามารถ ทางกรุงศรีอยุธยาส่งกำลังไปช่วยไม่ทัน พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้จนเสบียง

อาหารในเมืองขาดแคลน จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อพม่า พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระธรรมราชาเป็นพระศรีสรรเพชญ์

ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของพม่า กับขอสมเด็จพระนเรศวรไปอยู่ที่หงสาวดี

           ในปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย

           ในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ

ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา

เป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย

           สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวร

องค์รัชทายาทก็ได้ทรงประกาศอิสระภาพ

           ในห้วงระยะเวลา ๑๐ ปี แรกในรัชสมัยของพระองค์ กัมพูชาได้ส่งกำลังมาโจมตีหัวเมืองทางตะวันออกและรุกเข้ามาถึงชานพระนคร

แต่ฝ่ายไทยก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรกลับไปได้ พระองค์ทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ

รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๑๒๓ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก หรือคูขี่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบข้า

ศึกสามารถเข้ามาสู่พระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับ

ด้านอื่น ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสัก ไหลมาบรรจบกัน และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม (วังหน้า)

สำหรับใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ไว้คอยสกัดกั้นทัพข้าศึกที่เข้าโจมตีพระนครทางด้านทิศตะวันออก



สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์

เป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์

พระองค์ทอง และพระอินทราชา

           พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์

ที่ทรงพระปรึชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ

การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนาตลอดจนเข้ารับราชการ ทำให้ชาวตะวันตก

ยอมรับนับถือกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

           ในด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่น ๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้า ฯ

ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และต่อมาเมื่อ

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วยปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศ

เจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า "ในชมพูทวีปไม่มีเมืองใดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดีมากในสยาม

และการซื้อขายใช้เงินสด สำหรับเมืองท่าของไทยในเวลานั้น มีอยู่หลายเมืองด้วยกัน ได้แก่ มะริด ตะนาวศรี ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช

เพชรบุรี และบางกอก

           พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งบาทหลวงสามคนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อทั้งสามคนมาถึงแล้วก็ได้มีใบบอกไปยัง

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตปาปา ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสตศาสนา พระบาทหลวง

ได้ตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า เป็นการนำความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้พระราชทานที่ดินให้สร้าง

วัดทางคริสตศาสนาด้วย

           ในปี พ.ศ.๒๒๒๔ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะทูตนำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส

แต่คณะราชทูตสูญหายไประหว่างทาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๖ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อสอบสวน

ความเป็นไปของทูตคณะแรก พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงทราบก็เข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงเลื่อมใสจะเข้ารีต จึงได้จัดคณะราชทูต

เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้า

สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า

           "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป  ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว

และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"

           พระองค์ได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎรทั่วไปที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๘ เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับ พระองค์ก็ได้จัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต

เดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นของพระองค์ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และได้ส่งกุลบุตร ๑๒ คน ไปศึกษาวิชาที่ประเทศฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงโปรดปรานเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นอย่างมาก ได้ให้เหรียญที่ระลึก และเขียนรูปภาพเหตุการณ์ไว้ด้วย

เมื่อคณะราชทูตเดินทางกลับ พระองค์ได้โปรดให้มองสิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา พร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

 และได้นำทหารฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ นาย เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทหารฝรั่งเศสจำนวนดังกล่าว

 ไปรักษาป้อมที่เมืองธนบุรีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมีกำลังสองกองร้อยให้ไปรักษาเมืองมะริด ซึ่งมีอังกฤษเป็นภัยคุกคามอยู่

           ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ เนื่องจากมีเหตุบาดหมางกันในเรื่องการค้าขายกับอินเดีย

รัฐบาลอังกฤษให้บริษัทอังกฤษ เรียกตัวคนอังกฤษทั้งหมดที่รับราชการอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ให้กลับประเทศอังกฤษ ต่อมาชาวอังกฤษได้มา

ก่อความวุ่นวายในเมืองมะริดและรุกรานไทยก่อน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรไทยได้  เนื่องจากขณะนั้นมีทหารฝรั่งเศสรักษาเมืองมะริดอยู่

           ในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ ที่เจริญรุ่งเรืองแล้วก็ตาม แต่ก็ได้มีการทำสงครามหลายครั้ง

ครั้งที่สำคัญได้แก่ การยกกองทัพออกไปตีพม่าที่กรุงอังวะ ตามแบบอย่างที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ได้ทรงกระทำมาแล้วในอดีต และได้มี

การยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สองครั้งจนได้ชัยชนะ

           สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี



สมเด็จพระเพทราชา

           สมเด็จพระเพทราชา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๕ เดิมเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี เข้ารับราชการเป็นจางวาง

(เจ้ากรม) ในกรมพระคชบาล ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้แสดงความสามารถในการศึกสงครามเป็นที่ปรากฏ ได้รับความไว้วาง

พระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีอำนาจและบทบาทในทางการเมือง และการปกครองของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก

           ในปี พ.ศ.๒๒๓๑ ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ พระเพทราชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ

ประทับอยู่ที่ลพบุรี และทรงประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิชัยดิษฐ์ในปัจจุบัน

           เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษ ฯ

พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๒ พระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา

           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศส

อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก

โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส

ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส

สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก

และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม  โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ

           นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย

           ในด้านความสัมพันธ์กับหัวเมืองประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

กล่าวคือในปี พ.ศ.๒๒๓๔ เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย  ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๓๘

 พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทาง

การรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน

           สมเด็จพระเพทราชา เส็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๗๑ พรรษา  ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี



สมด็จพระเจ้าเสือ

           สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๖ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ

โปรดให้พระเพทราชา เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เป็นหลวงสรศักดิ์ ได้ร่วมกับพระเพทราชา

กำจัดพระปีย์ และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชได้

เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี

และได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ ่เป็นพระมหาอุปราช ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และเจ้าฟ้าพร

พระราชโอรสองค์รอง เป็นวังหลัง

           พระองค์รักการต่อสู้ มีความดุดันและห้าวหาญ จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑

ครองราชย์ได้ ๕ ปี



สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นพระราราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๒๑ พระนามเดิมเจ้าฟ้าเพชร

ทรงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราช ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑

 ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรือสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

           ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ทรงระแวงพระทัยในเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชา ผู้เป็นพระมหาอุปราช จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกราชยมบัติ

ให้เจ้าฟ้านเรนทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทร์ทรงเกรงพระทัยเจ้าฟ้าพร จึงหาทางหลีกเลี่ยงโดยเสด็จออกผนวช สมเด็จพระเจ้า

ท้ายสระมีพระราชดำรัสว่า เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว ให้เจ้าฟ้าอภัย ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต

เจ้าฟ้าพรกับเจ้าฟ้าอภัย จึงได้แย่งราชสมบัติกัน ที่สุดเจ้าฟ้าพรได้ขึ้นครองราชย์

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองมหาชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๒๖๔ เพื่อเชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ต่อจากที่ขุดค้าง

ไว้จนเสร็จ และได้ขุดคลองเกร็ดน้อย ซึ่งเป็นคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณลัดคุ้งปากคลองบางบัวทอง ปัจจุบันคือปากเกร็ด

           ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

           ในปี พ.ศ.๒๒๔๔ เกิดความวุ่นวายในเขมร อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกัน เจ้าเมืองละแวก ขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ส่วนพระแก้วฟ้าผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร

พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดรมีชีย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้พระแก้วฟ้ากลับมาอ่อนน้อมต่อไทย

 เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยเช่นแต่ก่อน

           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ พระชนมายุได้ ๕๔ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๕ ปี



สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม เจ้าฟ้าพร เป็นพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

พระองค์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์

ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ นอกจากนั้นพระองค์ยังมีพระนามอื่นตามที่ปรากฎในเอกสารทางประวัติศาสตร์คือ

สมเด็จพระรามาธิบดินทร ฯ สมเด็จพระรามาธิบดี ฯ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุธรรมราชา ฯ และสมเด็จพระบรมราชา ทางฝ่ายพม่าเรียกว่า

พระมหาธรรมราชา

           ในรัชสมัยของพระองค์พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โปรดเกล้า ฯ

ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในกรุงศรีอยุธยาและในบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดป่าโมก วัดหันตรา วัดภูเขาทอง

 และวัดพระราม  โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตร ที่ชำรุดอยู่ ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ

ผู้ที่ถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว

           ในปี พ.ศ.๒๒๙๖ พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทรงทราบกิตติศัพท์ว่าพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก

จึงได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป เนื่องจากกษัตริย์ลังกาองค์ก่อน

หันไปนับถือศาสนาพราหมณ์ และทำลายพุทธศาสนา จนกระทั่งไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่ในลังกา สมเด็จพระเจ้าบรมโกษ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูต

ประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก ๑๒ รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท

 ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว

คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓

           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๖ ปี



สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

           สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นพระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกเดื่อ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น

กรมขุนพรพินิต มีพระเชษฐาคือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๙ แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง ๑๑ ปี

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๐ จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด

           เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔

 แต่ก่อนหน้าที่จะมีพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและพระอนุชาต่างพระมารดาสามองค์ คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ

 และกรมหมื่นเสพภักดี ได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงขอให้พระราชาคณะเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ และพระองค์

ได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์

           เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงสละราชย์สมบัติแล้ว ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา

แล้วพระองค์เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม



สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)

           พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น

กรมขุนอนุรักษ์มนตรี

           หลักจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี

แสดงพระองค์ว่าต้องการขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ยอมสละราชสมบัติ

ถวายพระเชษฐาและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงเสด็จขึ้นครองราชย ์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนาม

สมเด็จพระบรมราชามหาดิศร ฯ แต่คนส่วนใหญ่มักขานพระนามว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร

 และพระเจ้าเอกทัศน์

           ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงขอให้

พระเจ้าอุทุมพรลาผนวช ออกมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ

และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก

 โดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง ปีกับสองเดือน ก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า

 ปีกุน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส ต้องอดอาหารกว่า ๑๐ วัน และเสด็จสวรรคต


 เมื่อพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิสามต้น พม่าได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร

5.การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา




การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

          การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้ว

แคว้นอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ
            แคว้นอู่ทองเป็นชุมชนของคนไทย ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง   มีการค้นพบซากเมืองโบราณและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในเขตตัวเมืองอู่ทอง (อยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) และในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี

            ศูนย์กลางความเจริญของแคว้นอู่ทองอยู่ที่ตัวเมืองอู่ทอง จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้เชื่อว่า เมืองอู่ทอง เป็นชุมชนโบราณที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร) จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 13 และถือว่ามีอายุเก่าแก่มากกว่าเมืองโบราณที่นครปฐม

            การค้นพบศิลปะโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 ทำให้สันนิษฐานว่า ก่อนในช่วงดังกล่าว อาณาจักรทวารวดีมีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้ หลังจากนั้น เมืองอู่ทอง ได้เสื่อมอำนาจและลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 เมืองสุพรรณบุรี กลับมีความเจริญเข้ามาแทนที่

            แค้วนอู่ทองหรือสุพรรณบุรี อาจเป็นเมืองเดิมของพระเจ้าอู่ทองก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พระเจ้าอู่ทอง ทรงพาผู้คนอพยพหนีโรคระบาดจากแคว้นสุพรรณภูมิมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาทรงตั้งให้ ขุนหลวงพะงั่ว ญาติผู้ใหญ่ของพระองค์ไปครองเมืองสุพรรณบุรีแทนแคว้นละโว้หรือลพบุรี

แคว้นละโว้หรือลพบุรี
             เมืองละโว้เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 โดย "พระยากาฬวรรณดิศราช" กษัตริย์นครปฐมเป็นผู้สั่งให้สร้างเมืองละโว้ขึ้น ในพ.ศ. 1002 แต่ทั้งเมืองละโว้ นครปฐม อู่ทอง และสุพรรณภูมิ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งสิ้น โดยละโว้มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงทางด้านตะวันออกของอาณาจักร

            แคว้นละโว้มีความเจริญทางวัฒนธรรมและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ความเจริญของละโว้แผ่ขยาย ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณปากอ่าวไทยขึ้นไปตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกจนถึง เมืองนครสวรรค์และเมืองหริภุญไชย

            แคว้นละโว้เริ่มรับวัฒนธรรมฮินดูและพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานจากเขมรอย่างมาก ตั้งแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยเชื่อว่าแคว้นละโว้ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของเขมร เพราะก่อนหน้านี้ละโว้เคยส่งทูตไปเมืองจีนอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจาก พ.ศ.1544 ก็ไม่ได้ส่งไปอีกเลย

แคว้นละโว้ย้ายราชธานีใหม่ ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 17

               แคว้นละโว้ถูกคุกคามโดยกองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1601
               พระนารายณ์กษัตริย์ของแคว้นละโว้ ได้ย้ายราชธานีใหม่มาตั้งตรงปากแม่น้ำลพบุรี (บริเวณที่แม่น้ำลพบุรีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา) เมื่อ พ.ศ. 1625 และตั้งชื่อว่า "กรุงอโยธยา" ส่วนเมืองละโว้เดิมได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ลพบุรี" และมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา ตั้งแต่บัดนั้น


กรุงอโยธยา หรือแคว้นอโยธยา

            แค้วนอโยธยามีอำนาจปกครองในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19  สันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้อพยพพาผู้คนมาตั้งเมืองใหม่ที่ หนองโสน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก สถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 และยกฐานะ ลพบุรี ให้เป็นเมืองลูกหลวงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

            สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากที่ใด มีข้อสันนิษฐานในเรื่องดังกล่าว 3 ประการ ดังนี้

            มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1890 เมืองอู่ทองซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำจระเข้สามพัน ประสบภัยธรรมชาติ ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน ขาดแคลนน้ำ จึงเกิดโรคระบาด (โรคห่าหรืออหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงทรงทิ้งเมือง อพยพผู้คนข้ามฟากแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) ใช้เวลาสร้างเมืองใหม่ 3 ปี และสถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งใหม่ ใน พ.ศ.1893
             มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากเมืองอโยธยา บริเวณปากแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นละโว้ โดยพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพไพร่พลทิ้งเมืองอโยธยา หนีภัยอหิวาตกโรคระบาด มาสร้างเมืองใหม่เช่นกัน มีฐานะเป็นพระราชโอรสของแคว้นละโว้ พระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นละโว้ และมอบหมายให้พระเจ้าอู่ทองไปครองเมืองเพชรบุรี ในฐานะเมืองลูกหลวง ครั้งเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าอู่ทองจึงเสด็จกลับมาครองราชวมบัติในแคว้นละโว้ และต่อมาได้ย้ายมาตั้งราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา
            การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 เป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ตรงกับรัชการพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ในขณะที่ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็ยังคงมีแคว้นของคนไทยตั้งบ้านเมืองมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งต่อมาถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในที่สุดปัจจัยที่สนับสนุนให้การสถาปนากรุงศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ


ปัจจัยที่สนับสนุนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

        1. ความเข้มแข็งทางการทหาร สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นละโว้ หรือดเป็นเจ้าเมืองที่มาจากเมืองอู่ทองอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงมีกำลังทหารเข้มแข็ง มีกำลังไพร่พลมาก และมีลักษณะเป็นผู้นำทางการเมืองที่ผู้คนยอมรับ จึงให้การสนับสนุนในด้านกำลังคนอย่างเต็มที่

        2. การดำเนินนโยบายทางการทูตที่เหมาะสมกับดินแดนใกล้เคียง พระเจ้าอู่ทองได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งแคว้นสุพรรณภูมิ จึงเป็นการเชื่อมโยงแค้วนละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทั้งสองอาณาจักรลดการแข่งขันทางการเมืองซึ่งกันและกัน

        3. การปลอดอำนาจทางการเมืองภายนอก ในขณะนั้น อาณาจักรสุโขทัยของคนไทยด้วยกันที่อยู่ทางตอนเหนือ และอาณาจักรเขมร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง จึงไม่สามารถสกัดกั้นการก่อตั้งอาณาจักรใหม่ของคนไทยได้

        4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา   ป่าสักและลพบุรี   ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

        5. ความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะภูมิประเทศของอยุธยาเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ   ประกอบกับอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีการคมนาคมทางน้ำสะดวกทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้ง่ายการสร้างความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา

           ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพยายามสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักร โดยการดำเนินการทางการเมือง ดังต่อไปนี้

          1. การขยายอำนาจไปยังอาณาจักรเขมร เนื่องจากเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาก่อน มีอาณาจักรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอยุธยา ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวงไม่ปลอดภัย

          รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพอยุธยาไปตีเขมร  2   ครั้ง ใน พ .ศ. 1895 และ 1896 ทำให้เขมรเสื่อมอำนาจลง ต้องย้ายเมืองหลวงหนี ทางฝ่ายไทยได้กวาดต้อนพราหมณ์ในราชสำนักเขมรมายังกรุงศรีอยุธยา เป็นผลให้เกิดการแพร่หลาย ศิลปวัฒนธรรมเขมรในไทยมากขึ้น
          รัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (สมเด็จพระเจ้าสามพระยา) เขมรต้องตกเป็นประเทศราชของไทย ทางอยุธยายินยอมให้เขมรได้ปกครองตนเอง โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี

2. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เหตุการณ์สำคัญดังนี้

           รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง กองทัพอยุธยาตี เมืองสรรค์(ชัยนาท) เมืองหน้าด่านของสุโขทัยไว้ได้ใน พ .ศ. 1900  แต่พระยาลิไทย กษัตริย์สุโขทัยได้ส่งทูตมาเจรจาขอคืน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองยังดำเนินไปด้วยดี
           รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ยกกองทัพไปตีอาณาจักรสุโขทัยหลายครั้ง ใน พ.ศ. 1921 ได้เข้ายึดเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) เมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย พระยาไสยลือไทย กษัตริย์สุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมไม่คิดต่อสู้ ทำให้อยุธยามีอำนาจเหนืออาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้น โดยยินยอมให้สุโขทัยปกครองตนเองในฐานะประเทศราช
           รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้เสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ยปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระราชวงศ์ของสุโขทัยด้วยกัน ใน พ.ศ. 1962 จนเหตุการณ์ยุติด้วยดี ในรัชกาลนี้สุโขทัยกับอยุธยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันมากขึ้น เมื่อมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าสามพระยาพระโอรสแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระธิดาแห่งกรุงสุโขทัย
           รัชกาลพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (สมเด็จเจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราชโอรส พระราเมศวร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ในฐานะที่ทรงมีเชื้อสายสุโขทัย ขึ้นปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ พิษณุโลก   เป็นผลให้สุโขทัยกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1983 เป็นต้นมา

           3. การขยายดินแดนให้กว้างขวาง ทำให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของคนไทย  อาณาจักรอยุธยาได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งตอนบนและตอนล่าง กลายเป็นอาณาจักรของคนไทยที่เข้มแข็งที่สุด และเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของคนไทยในสมัยนั้นอย่างแท้จริง มีอาณาเขต ดังต่อไปนี้

           ทิศเหนือ จรดอาณาจักรล้านนา และสุโขทัย ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยด้วยกัน ต่อมาสุโขทัยถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ในขณะที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าสลับกัน
           ทิศตะวันออก จรดอาณาจักร เขมรหรือขอม ซึ่งบางสมัยต้องตกเป็นประเทศราชของไทย และบางสมัยก็แข็งเมืองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อไทย
           ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติลาว มีความเข้มแข็งทางการเมืองรองจากอยุธยา และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
           ทิศตะวันตก อยุธยามีอำนาจครอบครองอาณาจักรมอญ แถบเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด แต่ต่อมาก็ต้องสูญเสียให้แก่พม่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21
ทิศใต้ อยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมะลายูบางเมือง เช่น ปัตตานี กลันตัน และไทรบุรี เป็นต้น

4.ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย


ดินแดนไทยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทย

          เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลง  พระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5) ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้ บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ เมืองอู่ทอง

ชุมชนไทยก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา

            อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยจะก่อตั้งขึ้นในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนของประเทศในอดีต เป็นแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายแห่ง ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี  ฟูนัน ศรีวิชัย และนครศรีธรรมราช เป็นต้น   สันนิษฐานว่าเป็นอาณาจักรของชนชาติมอญและขอม
            การก่อกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.1780 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติขอม   รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้ง อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ซึ่งในบริเวณดินแดนใกล้เคียงดังกล่าว ก็ยังมีผู้นำคนไทยที่ตั้งตัวเป็นอาณาจักรอิสระอีกแห่งหนึ่ง คือ อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893 - 2310

            ใน  พ.ศ.  1890   ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัยนั้น  เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ  ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน  เกิดขาดแคลนน้ำ  อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก  เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน)  ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม)  แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893  และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง)   กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ  คือ  มีแม่น้ำ  3  สาย  ไหลผ่าน  ได้แก่

แม่น้ำลพบุรี                ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศ
แม่น้ำเจ้าพระยา         ไหลผ่านทางทิศใต้
แม่น้ำป่าสัก                ไหลผ่านทางทิศตะวันออก

           จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร  สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ  ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์  มีแม่น้ำล้อมรอบ  เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี  ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน  เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย

3.การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์



การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่าข้อมูล  เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้

            1. การแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้บันทึก หรือผู้แต่ง ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐาน คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร

            2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น ข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย

              ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น
              เรื่องราวการเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2( พ.ศ. 2310 )
ความจริง คือ ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112  และ  พ.ศ. 2310
ส่วนข้อเท็จจริง  คือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า  ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา  เช่น

                คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน  ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง  มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า  ค าอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า  ข้อเท็จจริง ดังนั้น  ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม  เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้  รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ  และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ



ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

            ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

            วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

           การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

            จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

         ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

2.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
        การศึกษาประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเรื่องราวการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกจนถึงปัจจุบัน
        ซึ่งเราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า โลกเราเริ่มมีมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อไร เพียงแต่สันนิษฐาน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ
        แต่จะให้แม่นยำในเรื่องของระยะเวลา ก็ต้องเป็นการบันทึกเหตุการณ์ โดยมนุษย์เองซึ่งก็ต้องเป็นสมัยที่มนุษย์ มีการสื่อสารโดยใช้ตัวอักษรแล้ว
        แต่การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นมิได้เริ่มศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร
        ฉะนั้นการคำนวณระยะเวลาเพื่อให้แม่นยำมากที่สุดต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสลายตัวของกัมมันตรังสี
        หรือการนำสารคาร์บอนจากหลักฐานที่ต้องการตรวจสอบ ไปตรวจวัดด้วยเครื่องไอโซโทป อายุของหลักฐานชิ้นนั้นก็จะปรากฏให้เราทราบ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประวัติศาสตร์เพื่อแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ก็เพื่อให้เราศึกษาประวัติศาสตร์ได้สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วง ระยะเวลาใด
        สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ ที่ส่งผลตามมา นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตามหลักฐาน โดยแบ่งออกเป็น 2 สมัยดังนี้

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์
       
        การแบ่งเป็น 2 สมัยแบบนี้ใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ก่อนที่มนุษย์จะมีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร สมัยประวัติศาสตร์มนุษย์มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสารแล้ว

1. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล
1.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
1.2. สมัยประวัติศาสตร์

2. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
2.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2.2. สมัยประวัติศาสตร์

1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร ์prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
 1.1.1 ยุคหินเก่า  Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ  Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
 1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
  1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
  1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
  2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ระยะเวลาประมาณ 3,500 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 10
  2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 - 21
  2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 22- 24
  2.4 ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระยะเวลา พุทธศตวรรษที่ 25

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ก็มีการแบ่งยุคคล้ายกับการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล โดยแบ่งออกเป็น
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์

1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
 1.1.1 ยุคหินเก่า Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง  Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
 1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
          การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ยึดตามประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถือว่า ประมาณ พ.ศ. 800 เป็นช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ แต่โดยทั่วไปแบ่งตามระยะเวลาการใช้เมืองหลวงเรียกชื่อตามสมัย
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 800 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 18(พ.ศ.1792)
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ระยะเวลา ประมาณ พ.ศ. 1792 -2006
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ระยะเวลา พ.ศ. 1893 - 2310
2.4 ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ระยะเวลา พ.ศ. 2310 - 2325
2.5 ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน

1.หลักฐานประวัติศาสตร์

หลักฐานประวัติศาสตร์
          นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ มาร์ค บลอค Marc Block ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ หลักฐานประวัติศาสตร์ ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ คือร่องรอยพฤติกรรม การพูด การเขียน การประดิษฐ์คิดค้นการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งที่มีอยู่ภายในหลักฐานก็คือร่องรอย ความรู้สึกนึกคิด โลกทัศน์และจารีตประเพณีของมนุษย์ในอดีตที่อาจ ตกทอดถึงปัจจุบัน โดยมีร่องรอยอยู่ในธรรมชาติและวัฒนธรรมของมนุษย์
          สรุปว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึงร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
    1.1 หลักฐานชั้นต้น
    1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
    3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
        หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources
         หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
        หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
        หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
        หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
        หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน

ช่วงเวลา ศักราช

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
          1. การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 1,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 1,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ
          2. การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) แล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.0 เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
          นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

การเทียบศักราช
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.

จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.

ม.ศ. + 621   = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ.

ค.ศ. - 579   = ฮ.ศ. พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.

ตัวอย่าง
ร.ศ.1+2324 = พ.ศ. 2325 ร.ศ. 227  = พ.ศ. 2551
จ.ศ.1+1181 = พ.ศ. 1182 จ.ศ.1370 = พ.ศ. 2551
ม.ศ.1+621 = พ.ศ. 622 ม.ศ.1930 = พ.ศ. 2551
(ค.ศ. 2008 - 579) = (พ.ศ. 2551-1122) = ฮ.ศ.1429

        3. ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี
        4. จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี
การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้
        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
        ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 2 เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382
        ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383
        ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384
        ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385
        ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386
        ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387
        ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388
        ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 9 เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389
        ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380
        ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028