welcome วิชาประวัติศาสตร์(22102) คุณครูชาญวิทย์ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

12.ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

12.ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

          ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

จีน

          มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายัง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914

         ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรก ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น อยุธยาค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเทศจีนมาก ความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบรัฐบรรณาการ อยุธยาต้องการตลาดสินค้าใหญ่อย่างจีน และไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าเพียงแต่ยอมอ่อนน้อมกับจีนซึ่ง จีนถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลใครมายอมอ่อนน้อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้ผลประโยชน์กลับบ้านมากกว่าที่อยุธยาส่งบรรณาการไปถวายเสียอีกสินค้าที่เราส่งไปจีนการที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้ คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีน ไปขายที่อยุธยา ด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทย ต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่น เครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย

           ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีน ซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น


ญี่ปุ่น
          ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีใน พ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่าง เป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ  อิเอยาสุ ใน พ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการ และในขณะเดียว กันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึง ส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
           ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159 , 2164 ,  2166 , 2168
           ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือ ทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น

            ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมี ชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม แล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรับ จากญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง

อิหร่าน

          ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกันลังกา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งทูตมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์  

สรุป

            ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะการค้ากับ จีนทำให้อยุธยาได้ประโยชน์มากมายจากรูปแบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ ส่วนกับญี่ปุ่นก็เช่นกัน จนมีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา คือ ยามาดาได้รับพระราชทานยศเป็น(ออกญาเสนาภิมุข)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น